วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)






http://emis.fpo.go.th/News/NewsPicture/200610/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5.jpg



ความหมายและความสำคัญ

คณะรัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. [1]

รัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี หรือ คณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับ คณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง (คำว่ารัฐมนตรีนี้ในสมัยโบราณ หมายถึง ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์). [2] รัฐมนตรี (Minister) ของกระทรวงต่างๆนี้ เมื่อได้รับการแต่งตั้งครบทุกกระทรวงตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินร่วมกันนี้ในฐานะผู้นำในการบริหาร ประเทศ ก็จะเรียกรวมกันว่าเป็น คณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี (Cabinet) จึงเป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา[3] ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ มีอำนาจเรียกประชุม กำหนดเรื่องที่จะประชุม เป็นประธานในที่ประชุม และขอมติจากที่ประชุม ตลอดจนบังคับบัญชา หรือสั่งการในเรื่องต่างๆ

องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญในอดีตกำหนดจำนวนรัฐมนตรีไว้แตกต่างกัน ซึ่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา171 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน รวมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไม่เกิน 36 คน[4] คณะรัฐมนตรีในที่นี้ อาจประกอบด้วย รัฐมนตรีประเภท ต่างๆได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง[5] ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดก็ได้ แต่จำนวนรวมกันต้องไม่เกินจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (กรณีที่ แต่งตั้งบุคคลคนเดียวให้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง จะยึดจำนวนคนเป็นหลักไม่ใช่นับตามตำแหน่ง เช่น เป็นทั้งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะนับว่าเท่ากับคนเดียว)

ความสำคัญของคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแต่ละหน่วยงาน จึงอาจสรุปว่า คณะรัฐมนตรีมีความสำคัญใน 3 ด้าน[6] คือ

1. ด้านกฎหมาย โดยมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง และเป็นผู้เสนอกฎหมายต่างๆเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารกิจการ ราชการต่างๆของประเทศให้เป็นไปโดยราบรื่น

2. ด้านนโยบายการเมือง[7] คณะรัฐมนตรีนั้นเป็นองค์กรสูงสุดที่มีกำหนดนโยบายทั้งระดับภายในและภายนอก ประเทศ โดยภายในประเทศเป็นผู้กำหนดการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรง ส่วนภายนอกประเทศมีอำนาจกระทำการผูกพันในฐานะตัวแทนของรัฐหรือประเทศและมีผล ผูกพัน

3. ด้านอำนาจ ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางด้านการบริหาร ซึ่งมีอำนาจกำหนดนโยบายต่างๆซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดทิศทางของประเทศ และยังมีอำนาจบังคับบัญชาสั่งการข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาใน ทุกระดับทั่วประเทศ ดังนั้นอำนาจที่มากมายเหล่านี้ย่อมกระทบต่อประชาชนโดยรวมอย่างกว้างขวาง ผู้ใช้อำนาจจึงควรใช้อำนาจด้วยความเป็นธรรม ตามหลัก ธรรมาภิบาล

คณะรัฐมนตรีนั้น กฎหมายถือว่า เป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็น "ข้าราชการการเมือง" ซึ่งเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุทางการเมือง จะต่างจากข้าราชการประจำทั่วๆไป ดังนั้น คำว่า "คณะรัฐมนตรี" เป็นคำที่ใช้ ในกฎหมาย มุ่งหมายถึงเฉพาะข้าราชการการเมืองผู้มีตำแหน่งรัฐมนตรีดังกล่าว ตรงกับที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า "Council of Ministers" หรือ "Cabinet" ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้ควบคู่กันคือคำว่า "รัฐบาล" หรือ "Government" ในบางครั้งคณะรัฐมนตรีและรัฐบาลมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ บางครั้ง คำว่ารัฐบาลอาจมีความหมายกว้างกว่านั้น เพราะอาจรวมไปถึงข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของฝ่ายบริหาร อีกด้วย เพื่อแยกให้ เห็นว่า เป็นคนละฝ่ายกับภาคเอกชน และคนละฝ่ายกับสมาชิกรัฐสภา[8] จึงอาจกล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีอยู่ในฐานะที่เป็นทั้งหัวหน้าของคณะรัฐมนตรีและหัวหน้ารัฐบาลไปพร้อมๆกัน

ประวัติความเป็นมาของคณะรัฐมนตรี

ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีที่มาจากคณะเสนาบดีในอดีต ตั้งแต่สมัยอยุธยาเริ่มมีเสนาบดีเวียง วัง คลัง นา รับผิดชอบแต่ละฝ่าย และยังมีเสนาบดีเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้แนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ได้ถูกเสนอขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วง ปี รศ.103 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสภาพบ้านเมืองขณะนั้น ยังไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเต็มรูปแบบ แต่ก็ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองใหม่ครั้งใหญ่ โดยทรงจัดตั้งกระทรวงต่างๆขึ้น มีเสนาบดีเป็นหัวหน้ากระทรวง ทำหน้าที่ในลักษณะของคณะรัฐมนตรีแต่พระมหากษัตริย์ยังคงทรงเป็นประธาน[9] โดยระบบคณะเสนาบดีนี้ได้ดำเนินมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ถวายคำปรึกษา แต่แนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีก็ยังคงมีอยู่ดังปรากฎในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของพระยากัลยาณไมตรี มาตรา 3-5[10] ซึ่งได้ถูกคัดค้านและไม่มีการนำมาปฏิบัติจริง อย่างไรก็ตามอาจสรุปได้ว่าการบริหารราชการแผ่นดินก่อนการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองนั้นเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์โดยตรง[11] แม้บางครั้งจะมีคณะบุคคลร่วมทำงานในการเป็นที่ปรึกษาต่างๆ หรือช่วยบริหารงานราชการกระทรวงต่างๆก็ตาม

คณะรัฐมนตรีเต็มรูปแบบในระบบรัฐสภาคณะแรกของไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เดิมนั้นใช้ชื่อว่า คณะกรรมการราษฎร เกิดขึ้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475การประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันที่ 28 มิถุนายน 2475 โดยสภาผู้แทนราษฎรได้เลือก มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร จากนั้นประธานคณะกรรมการราษฎรจึงได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรให้สภาอนุมัติซึ่งคณะกรรมการราษฎรนี้ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา โดยถือเอาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรเป็น นโยบายของรัฐบาล ในระหว่างที่ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทักท้วงว่าการใช้คำว่า "กรรมการราษฎร" แทน "Minister" หรือ "เสนาบดี"ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทรงเห็นว่าไม่ไพเราะและ ไม่ค่อยถูกต้องนัก[12] เพราะฟังดูเป็นโซเวียต ในรัฐสภาจึงถกเถียงกันในเรื่องนี้อย่างมาก และที่ประชุมรัฐสภาได้ลงมติให้ใช้คำว่า “รัฐมนตรี” แทน “กรรมการราษฎร” และใช้คำว่า “นายกรัฐมนตรี” แทน “ประธานคณะกรรมการราษฎร” และคำว่า “คณะรัฐมนตรี” แทนคำว่า “คณะกรรมการราษฎร” ซึ่งคำว่าคณะรัฐมนตรีหมายถึง “ข้าราชการผู้ใหญ่ในแผ่นดิน” มิใช่ที่ปรึกษาของแผ่นดินอีกต่อไป[13] และประกาศ ใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 นับแต่นั้นมา[14] ปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น 59 คณะ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มี

คุณสมบัติของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 174 ได้กำหนดว่า รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม[15] โดยสรุปดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์

(3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (8) (9) (11) (12) (13) หรือ (14) (ได้แก่ ติดยาเสพติดยาเสพติดให้โทษ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือถูกคุมขังโดยหมายของศาล เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิ ชอบในวงราชการ เป็นต้น)

(5) ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีก่อนได้รับแต่ง ตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(6) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกินหนึ่งปีนับ ถึงวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี

อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี

เมื่อพิจารณาตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฏีกา ตลอดจนระเบียบหรือ มติคณะรัฐมนตรี[16] แล้ว อำนาจหน้าที่หลักๆ ของคณะรัฐมนตรีสรุปได้ ดังนี้

1. กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน

2. บริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

3. รับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน

4. เสนอกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รวมทั้งออกพระราชกำหนดให้ ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ในกรณีฉุกเฉินรีบด่วนมีความจำเป็นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความ ปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือปัดป้องภัยภิบัติสาธารณะ นอกจากนี้มีอำนาจออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายลำดับสูงกว่า

5. เป็นผู้บริหารสูงสุดในแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวง วางระเบียบข้อบังคับของแต่ละกระทรวง พิจารณา ตัดสินใจ วินิจฉัยชี้ขาด ลงมติ เรื่องต่างๆตามที่แต่ละกระทรวงเสนอมา

6. มีสิทธิเข้าประชุม เพื่อชี้แจงและ แถลงข้อเท็จจริงในที่ประชุมสภา แต่ไม่มีสิทธิออกคะแนนเสียง หรือในกรณีสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมในเรื่องใด ก็ต้องเข้าประชุม และมีสิทธิร้องขอให้มีการประชุมลับ

7. ในกรณีมีเรื่องสำคัญและต้องการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา มีสิทธิเสนอให้เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติได้

8. เสนอให้มีการออกเสียงประชามติในกรณีกิจการใดที่เป็นเรื่องมีผลดีผลเสียกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่

9. อำนาจหน้าที่อื่นๆ ซึ่งกระทำภายใต้พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ เช่น การประกาศใช้และการเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงคราม การอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษ และการถอดถอนฐานันดรศักดิ์ เป็นต้น

10. อำนาจหน้าที่เฉพาะอื่นๆ ตามบทบัญญัติในกฎหมายต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย

จากบทบาทที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น มิอาจปฏิเสธได้เลยว่า คณะรัฐมนตรี เป็นองค์กรที่ความสำคัญมาก จนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐนาวา หากมีคณะรัฐมนตรีที่ดีมีศักยภาพ ปกครองประเทศโดยหลักนิติรัฐ ใช้อำนาจในทางที่เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อชาติ ก็ย่อมจะนำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จทัดเทียมนานาประเทศสืบไป

การจัดระเบียบบริหารราชการเเผ่นดิน


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEik167MGOzOhjfh0FJtZjQhWDxNE7Dil6Oiz79LkHBawRO9RouRvU-3bfsLl3hR9eaucNK6brnkmJoInZJ-teZ13IZVXX8zkCDf3ZSlZmuDCeYQSwUXnYWBKQ_33NAZZcoI6YT2GtXxepJY/s320/66403democracy_200.jpg








ความเป็นมาการบริหารราชการแผ่นดินไทย
----------1. การบริหารราชการแผ่นดินก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2547
มีวิวัฒนาการมาจากการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดโครงสร้างการบริหารตามหน้า ในรูปกระทรวงแทนการจัดตามพื้นที่ดังที่เป็นมาแต่โบราณ การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นการวางรากฐานสำคัญของการจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อ มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคที่เน้นการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง
----------2. การบริหารราชการแผ่นดินหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
--------------------2.1 การบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2546
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินรวบรัดและเร็วยิ่งขึ้น สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับ มีดังนี้ (ชูวงศ์ ฉายะบุตร, 2539: 66 - 67)
------------------------

----------1. มีการจัดระเบียบการบริหารราชการออกเป็น 3 ส่วน ได้แก
--------------------- ราชการบริหารส่วนกลาง
--------------------- ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
--------------------- ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
----------2. มีการกำหนดฐานะของกระทรวงให้เป้นทบวงการเมือง
----------3. มีการปรับโอนอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้ในคณะกรมจังหวัด
----------4. ยกเลิกมณฑลคงเหลือแต่จังหวัด อำเภอที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค
----------5. กำหนดราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมา

--------------------2.2 การบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชาการแผ่นดิน พ.ศ. 2495
มีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้คือ
--------------------2.1 ให้ปลัดกระทรวงมีอำนาจรับผิดชอบในราชการประจำมีอำนาจบังคับบัญชา
ข้าราชการในกระทรวงได้
--------------------2.2 กระจายอำนาจสั่งการจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค
--------------------2.3 ปรับปรุงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นใหม่
--------------------2.3 การบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218

----------การบริหารราชการตามกฎหมายประกาศคณะปฏิวัติ มีปัญหาหลายประการ ได้แก่
--------------------ประการแรก การซ้ำชอนอันเนื่องจาการขยายงาน
--------------------ประการที่สอง ขาดบทบัญญัติที่ให้อำาจรัฐมนตรีอย่างชัดเจน
--------------------ประการที่สาม ขาดการกำหนดแผนงานในระดับกระทรวงอย่างแท้จริง
--------------------ประการที่สี่ มีกฎหมายพิเศษที่ระบุอำนาจที่เป็นเฉพาะ
--------------------ประการที่ห้า อำนาจยังไปกระจุกตัวอยู่ที่หัวหน้า
--------------------ประการที่หก ขาดเอกภาพในการบริหารงาน
--------------------
-------------------- 2.4 การบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
เป็นกฎหมายหลักในการจัดระเบียบบริหารประกาศใช้แทนประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 โดยมีประเด็นสำคัญของการปรับปรุง ได้แก่
--------------------ประการแรก มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่
--------------------ประการที่สอง มีการกำหนดบทบัญญัติที่ให้การบริหารงานระดับกระทรวงมีเอกภาพ
--------------------ประการที่สาม กำหนดให้มีการมอบอำนาจลดหลั่นลงไปในระดับต่าง ๆ





--------------------1. การบริหารราชการส่วนกลางจะต้องนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติ ก็คือการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
-----------------------1. สำนักนายกรัฐมนตรี
-----------------------2. กระทรวงหรือทบวง
-----------------------3. ทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
-----------------------4. กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น

-----------------------สำนักนายกรัฐมนตรี
-----------------------การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวงมีระเบียบดังนี้
-------------------------- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
-------------------------- สำนักงานปลัดกระทรวง
-------------------------- กรมหรือส่วนราชการทีเรียกชื่ออย่างอื่น
--------------------2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาคพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัติว่า ให้จัดระบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังนี้

---------
1. จังหวัด
------------------1.1 ให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอตั้งชื่อเป็นจังหวัด
------------------1.2 ในจังหวัดนั้น ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่ง
------------------1.3 ในจังหวัดให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
------------------1.4 ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรรมการจังหวัด
---------พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 60 บัญญัติไว้ว่า "ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด" ดังนี้
------------------1. มีหน้าที่เกี่ยวกัลป์ราชการทั่วไปและการวางแผ่นพัฒนาจังหวัด
------------------2. มีหน้าที่ที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด

---------2. อำเภอ
------------------อำเภอเป็นหน่วยราชการส่วนภูมิภาค รองจังหวัดระเบียบราชาการในอำเภอที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
------------------1. มีนายอำเภอคนหนึ่ง เป็นหัวหน้าปกครอง
------------------2. มีปลัดอำเภอคนหนึ่ง
------------------3. ให้แบ่งส่วนราชการของอำเภอดังนี้
---------------------------3.1 มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไป
---------------------------3.2 มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

--------- 4. ตำบล
---------พ.ร.บ. พ.ศ. 2457 ระบุไว้ว่า หลาย ๆ หมู่บ้านรามกันราว 20 หมู่บ้าน ให้จัดตั้งเป็นตำบลหนึ่ง
การจัดระเบียบปกครองตำบล
------------------1. กำนัน เป็นผู้ได้รับเลือกจากราษฏรในตำบลนั้น มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล

---------5. หมู่บ้าน
ให้จัดเป็นหมู่บ้านโดยถือเอาจำนวนราษฏรประมาณ 200 คน หรือ จำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้าน

--------- การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน
---------ผู้ใหญ่บ้าน
------------------การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน
------------------1. ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าปกครองราษฏรที่อยู่ในเขตหมู่บ้านนั้น
------------------2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีหมู่บ้านละ 2 คน
------------------3. คณะกรรมการหมู่บ้าน ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้านประธาน ผู้ช่วยเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
มีหน้าที่เสนอข้อแนะนำให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้าน


--------- 3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ การใช้หลักการกระจายอำนาจ การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ระบบ คือ
------------------1. ระบบทั่วไปที่ใช้แก่ท้องถิ่นทั่วไป มี 3 รูปแบบ คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด
------------------2. ระบบพิเศษที่ใช้เฉพาะท้องถิ่นบางแห่งซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับการบริหารราชการขององค์กรปกครองท้องถิ่น
---------1. ความสัมพันธ์ในเชิงการจัดภารกิจระหว่างภารกิจของรัฐ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
------------------1.1 ภารกิจทางปกครอง
------------------1.2 ภารกิจทางเศรษฐกิจ
------------------1.3 ภารกิจทางสังคม
------------------1.4 ภารกิจของท้องถิ่น
---------2. ความสัมพันธ์ในเชิงควบคุมกำกับดูแล
------------------2.1 การควบคุมกำกับโดยตรง
------------------2.2 การควบคุมกำกับโดยอ้อม

ความเป็นมาของการปกครองท้องถิ่นไทย
---------ความเป็นมาหรืออาจเรียกว่า พัฒนาการการปกครองท้องถิ่นของไทยจัดลำดับขั้นตอนของพัฒนาการได้เป็นลำดับดังนี้
พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ทดลองตัดตั้งหน่วยการปกครอง แบบใหม่ในระดับท้องถิ่น

หน้าที่สำคัญคือการรักษาความสะอาดในชุมชน
---------พ.ศ. 2448 เกิดสุขาภิบาลท่าฉลอม
---------พ.ศ. 2451 จัดตั้งสุขาภิบาลในหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือสุขาภิบาลเมือง สุขาภิบาลตำบล
---------พ.ศ. 2453-2468 รัชกาลที่ 6 ทดลองจัดตั้งสภาประชาธิปไตยในระดับชาติ ส่งผลให้สุขาภิบาลมีสภาพอยู่กับที่
---------พ.ศ. 2470 รัชกาลที่ 7 ทรงตั้งคณะกรรมการขึ้นขุดหนึ่งทำการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศ
---------พ.ศ. 2473 ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล
---------พ.ศ. 2474 รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ต่าง ประเทศ
---------พ.ศ. 2476 รัฐบาลของคณะราษฏรมีนโยบายขัดเจนที่จะกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
---------พ.ศ. 2488 เทศบาลทั่วประเทศมีเพียง 117 แห่ง การปกครองเทศบาลไม่เหมาะสม
---------พ.ศ. 2495 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เดินทางไปดูงานต่างประเทศจึงตัดสินใจนำการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลมาใช้อีกครั้ง
---------พ.ศ. 2498 รัฐบาล ได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบลให้มีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้างถิ่นเป็นนิติบุคล
---------พ.ศ. 2509 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ปรับปรุงองค์การบริหารส่วนตำบลใหม่
---------พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 รวมเทศบาลกรุงเทพกับเทศบาลธนบุรี
---------พ.ศ.2521 มีการตราพระราชบัญญัติเมืองพัทยา กำหนดให้เมืองพัทยาเป็นนิติบุคล
---------พ.ศ. 2528 มีการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพ
---------พ.ศ. 2535-2539 พรรคการเมือง 5 พรรค เสนอนโยบายหาเสียงว่าจะกระอำนายไปสู่ท้องถิ่น
---------พ.ศ. 2540 มีการออก พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
---------พ.ศ. 2541-2542 มีการออก พ.ร.บ. ยกเลิก พ.ร.บ. สุขาภิบาล พ.ศ.2491
------------------ออก พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล พ.ศ.2542
------------------แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
------------------แก้ไข้เพิ่มเติม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ.2496 และออก พ.ร.บ. เทศบาล ฉบับที่ 11
------------------มีการออก พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา
---------พ.ศ. 2543 มีกฎหมายกำหนดทิศทางขององค์กรปกครองท้องถิ่น
---------พ.ศ. 2544 มีการเสนอกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น


http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Social/kunya003/nav/nav_1_sec6_bhb.gif